English language web site
   
 

แชมเปี้ยนชิพ - เทคโนโลยีชั้นนำของโลกในการจับเวลา ง่ายดาย แม่นยำ รวดเร็ว ตอบสนองกีฬาที่เคลื่อนไหวร่างกายอย่างรวดเร็วในกีฬาหลากหลายประเภท นักกีฬาอาจต้องแข่งขันแบบตัวต่อ ตัว ต่อสู้กับนักกีฬาจำนวนมาก รวมทั้งเอาชนะกันใน เรื่องเวลาด้วย บริษัทแชมเปี้ยนชิพ จึงปฏิวัติการจับเวลา เพื่อสนองตอบต่อกีฬาที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายอย่าง รวดเร็ว ในปี 2537 บริษัทฯ ได้เปิดตัวระบบการจับเวลา อัตโนมัติ ซึ่งช่วยจับเวลาตั้งแต่จุดเริ่มต้น รวมถึงทุกจุด ตรวจสอบที่กำหนดไว้และจุดสิ้นสุดของการแข่งขันด้วย ระบบนี้ช่วยให้ทราบเวลาทั้งหมดที่นักกีฬาแต่ละคน สามารถทำได้

คุณลักษณะของแชมเปี้ยนชิพ

  • ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เป็นระบบที่ง่ายต่อการใช้งาน
  • ประมวลผลข้อมูลได้ทั้งข้อมูลขนาดเล็ก จนถึงข้อมูลที่มี ปริมาณมากได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ
  • ใช้งานได้เอนกประสงค์ กล่าวคือเป็นระบบที่ใช้ได้กับกีฬาหลากหลายชนิดที่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย อย่างรวดเร็ว
  • ประสิทธิภาพสูงในการจับเวลาทั้งหมด และจับเวลาในแต่ ละจุดที่กำหนดของผู้แข่งขันแต่ละคน

เทคโนโลยีที่ไม่ซับซ้อน แต่รวดเร็วและแม่นยำ
เทคโนโลยีของแชมเปี้ยนชิพ ได้รับการพัฒนามาตั้งแต่ปี 2536 โดยเริ่มต้นจากสถาบัน เซเว่น ฮิลล์ รัน (Seven Hill Run) เมืองนิจเมเกน (Nijmegen) ประเทศเนเธอร์แลนด์ และในเดือนกันยายน 2537 ได้เปิดตัวอย่างเป็น ทางการครั้งแรกในงานแข่งวิ่ง เบอร์ลิน มาราธอน ด้วยประสิทธิภาพในการทำงานของเทคโนโลยี ปัจจุบันจึงมี การใช้แชมเปี้ยนชิพในการแข่งวิ่งมาราธอนของเมืองใหญ่ๆ มากมาย รวมถึงการแข่งขัน มนุษย์เหล็ก ไตรกีฬา และกีฬาอีกนับพันชนิดทั่วโลก

 

เทคโนโลยีที่เป็นพื้นฐานสำคัญของแชมเปี้ยนชิพ ได้แก่ ระบบการตรวจ สอบจำแนกโดยคลื่นความถี่วิทยุ(RFID) ซึ่งพัฒนาจากสถาบัน เท็กซัส อินสตรูเมนท์ เป็นระบบเดียวกับระบบที่ใช้ป้องกันการโจรกรรมรถยนต์ และการควบคุมการผ่านเข้า-ออกภายในอาคาร เทคโนโลยีแชมเปี้ยนชิพ เกิดจากการทำงานร่วมกันของเครื่องรับ-ส่งคลื่นสัญญาณซ้อนที่เกิดขึ้นใน เวลาเดียวกัน อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ในระบบดิจิตอลและอนาล็อก ที่ใช้ เทคโนโลยีขั้นสูง และโปรแกรมซอฟท์แวร์สำเร็จรูปเฉพาะ เพื่อจัดการ ข้อมูลปริมาณมากๆ ที่เข้ามาพร้อมๆกัน

  แชมเปี้ยนชิพ คืออะไร
แชมเปี้ยน ชิพเป็นเครื่องรับ-ส่งสัญญาณขนาดเล็กบรรจุอยู่ใน ภาชนะห่อหุ้มพลาสติกออกแบบเป็นพิเศษ เครื่องรับ-ส่งสัญญาณ นี้ประกอบไปด้วยชิพและแกนขดลวดต้นกำเนิด พลังงานบรรจุใน กระบอกแก้วกันน้ำได้ ด้วยเหตุนี้จึงสามารถใช้งานแชมเปี้ยนชิพ ได้ทุกสถานการณ์ ทั้งสภาพที่แห้ง เปียกชื้น ร้อนหรือเย็น
  นักกีฬาสามารถพกพาแชมเปี้ยนชิพได้หลายรูปแบบ ในการแข่ง วิ่งสามารถร้อยแชมเปี้ยนชิพไว้กับเชือกผูกรองเท้า สำหรับไตร กีฬาอาจผูกติดกับสายรัดข้อเท้าแชมเปี้ยนชิพ ไม่มีแบตเตอรี่ เครื่องรับ-ส่งสัญญาณจะทำปฏิกิริยาก็ต่อเมื่อมีการเคลื่อนที่ผ่าน สนามแม่เหล็กที่เกิดจาก เสาส่งสัญญาณ ณ จุดนี้แกนขดลวดจะ ผลิตกระแสไฟฟ้าส่งถ่ายพลังงานให้แก่ชิพ จากนั้นเครื่องรับ-ส่ง สัญญาณจะส่งผ่านรหัสเฉพาะตัวไปยังเสารับสัญญาณกระบวนการ ทำงานทั้งหมดนี้ใช้เวลาเพียงหกสิบส่วนพันของวินาที และดำเนิน การเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง
 

วิธีการติดแชมเปี้ยนชิพ
นักกีฬาสามารถพกพาแชมเปี้ยนชิพได้หลายรูปแบบ ในการแข่งวิ่ง สามารถร้อยแชมเปี้ยนชิพไว้กับเชือกผูกรองเท้า สำหรับไตรกีฬา อาจผูกติดกับสายรัดข้อเท้า โดยตัวรับสัญญาณจะถูกสอดอย่าง แน่น หนาใต้เสื่อยางสีแดง ดังนั้นชิพจะถูกสัญญาณค้นพบ เมื่อ ตำแหน่งที่ติดบนร่างกายผู้แข่งขันอยู่ใกล้กับเสื่อยางมากที่สุดใน การแข่งขันวิ่ง, ไตรกีฬา, จักรยาน, จักรยานเสือภูเขา, สกี และ สเก็ต, นักกีฬา เลือกใช้ชิพได้ 2 วิธี คือ

  • ผูกชิพไว้กับเชือกผูกรองเท้าของนักกีฬา โดยร้อยเชือก รองเท้าเข้าในช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆ 2 ช่องที่อยู่ตรงกลางชิพ ร้อยเชือกจนสุดและผูกให้แน่น
  • ร้อยชิพไว้กับสายรัดข้อเท้า แล้วรัดสายไว้ที่ข้อเท้า ระวัง อย่ารัดสายให้แน่นเกินไป เพราะอาจทำให้ข้อเท้าบวม ระหว่างแข่งขันได้ ถ้าท่านมีชิพส่วนตัว ท่านสามารถผูกชิพ ไว้กับรองเท้าไว้ได้เลย โดยผูกไว้ตรงตำแหน่งต่ำสุดใกล้ กับนิ้วเท้า หากท่านไม่ได้ใช้ชิพส่วนตัว ให้ท่านผูกชิพไว้
    กับเชือกผูกรองเท้า โดยร้อยไว้ตรงตำแหน่งใกล้ข้อเท้า ก่อนที่จะผูกเชือก เพื่อให้ง่ายต่อการถอดชิพคืนหลังการ แข่งขัน
  • ห้ามพันชิพไว้ในเชือกผูกรองเท้า เพราะเมื่อเชือกคลายตัว ชิพอาจหลุดหายได้
 

สีของชิพ

ชิพสีเหลือง
ผู้แข่งขันสามารถมีชิพสีเหลืองของตัวเอง และใช้ในการแข่งขันทั่ว โลกที่มีการจับเวลาโดยแชมเปี้ยนชิพ ในบาง การแข่งขันที่มีการจับเวลาโดย แชมเปี้ยน ชิพ มีชิพสีเหลืองสำหรับขาย ชิพเหล่านี้จะมีโลโก้แชมเปี้ยนชิพ
สำหรับบางประเทศในแถบยุโรป มีใช้เฉพาะชิพสีเหลืองเท่านั้น ในการแข่งขันที่มี

 

การจับเวลาโดยแชมเปี้ยนชิพ มีชิพประเภทนี้ สำหรับขายและให้ เช่า ในขั้นตอนการลงทะเบียน ผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกที่จะนำ ชิพส่วนตัว (ชิ พสีเหลือง) มาเอง, ซื้อชิพ หรือ เช่าชิพ ก็ได้ การ เช่าชิพสีเหลือง จำเป็นต้องมีการวางค่ามัดจำชิพในกรณีผู้แข่งขัน ไม่สามารถคืนชิพให้ทันเวลา เงินมัดจำจะถูกยึด

ชิพส่วนตัวสีเหลือง ไม่ว่าจะซื้อในประเทศใด สามารถใช้ได้กับทุก การแข่งขันทั่วโลก ที่มีการจับเวลาโดยแชมเปี้ยนชิพ

  ชิพสีดำ
ใช้สำหรับการจับเวลา 1 ครั้ง โดยคณะผู้จัดการแข่งขัน ชิพสีดำนี้ไม่ ใช่สำหรับขาย ผู้แข่งขันต้องคืนชิพหลังจาก ผ่านจุดสิ้นสุดการแข่งขัน หากผู้แข่งขันไม่คืนชิพ คณะผู้จัดต้องเรียกเก็บเงินค่าชิพ บางการแข่งขันมีการใช้ชิพ สีดำร่วมกับชิพส่วนตัวสีเหลือง ในการแข่งขันเหล่านี้ ผู้แข่งขันสามารถซื้อโลโก้ชิพ (ชิพเหลืองที่มีโลโก้) หรือนำ ชิพเหลืองส่วนตัวมาเองก็ได้ ผู้ร่วมแข่งขันทุกคนจะได้รับชิพสีดำ ซึ่งจะต้องคืนเมื่อจบการแข่งขัน โดยมากมักจะ ทำลักษณะนี้ในประเทศอเมริกา ในตอนลงทะเบียน ผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกได้ว่า:
 
  • จะนำชิพส่วนตัวสีเหลืองมาเอง
  • ซื้อโลโก้ชิพ (ชิพสีเหลืองที่มีโลโก้)
  • รับชิพสีดำจากคณะผู้จัดการแข่งขัน และคืนชิพหลังสิ้นสุด การแข่งขัน
 

การทำงานของระบบแชมเปี้ยนชิพ
เสารับ-ส่งสัญญาณแต่ละชุดจะถูกฝังยึดภายในแผ่นพรมยางบางๆ พรมยางที่มีเสารับ-ส่งสัญญาณนี้จะถูกติดตั้ง ณ จุดสิ้นสุดการแข่งขัน และจุดอื่นๆ ที่ต้องการจับเวลา เสารับ-ส่งสัญญาณจะต่อเข้ากับกล่องเหลืองที่ตั้งอยู่ริม ถนน ภายในกล่องเหลืองบรรจุอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์และแบตเตอรี่ เมื่อนักกีฬาที่ผูกแชมเปี้ยนชิพวิ่งผ่านพรม ยางนี้ ชิพที่อยู่ภายในจะถูกเหนี่ยวนำให้เกิดพลังงานและส่งผ่านรหัสเฉพาะของตนออกมา หมายเลขของชิพและ เวลาที่วิ่งผ่าน ณ จุดรับสัญญาณ จะถูกบันทึกเก็บไว้ในกล่องเหลือง และส่งผ่านข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อ ประมวลผลต่อไป

ทำไมต้องเป็นแชมเปี้ยนชิพ
ด้วยเทคโนโลยีแชมเปี้ยนชิพ นักกีฬา ต่างเชื่อมั่นในผลงานที่แม่นยำและรวดเร็ว

 
แชมเปี้ยนชิพ สามารถบันทึกการลงทะเบียน ของนักกีฬาแต่ละคน ณ จุดเริ่มต้น ถึงแม้ นักกีฬาจะแออัดกัน อยู่ในกลุ่มก็ตาม

จากผลงานของระบบ ขอยกตัวอย่างให้เห็นสัก 2 ตัวอย่าง

ในการแข่งขัน บอสตัน มาราธอน 2000 ใช้แชมเปี้ยนชิพ จับเวลา เริ่มต้นการแข่งขัน ที่จุดตรวจสอบ 9 จุด และจุดสิ้นสุดการแข่งขัน มีการจับเวลาที่ใช้ในการแข่งขันจริงของนักกีฬาจำนวน 175,000 ครั้ง บันทึกข้อมูลไว้และดึงข้อมูลเข้าสู่อินเทอร์เน็ต โดยใชเวลา เพียงไม่กี่วินาที ในการแข่งขันนิวยอร์กซิตี้มาราธอน เริ่มต้นปล่อย นักกีฬาที่สะพาน เวอร์ราซาโน แนโรว์ และจับเวลาโดยใช้แชม เปี้ยนชิพ ที่มีความกว้างของพรมยางถึง 36 เมตร การใช้งานระบบ นี้ช่วยให้สามารถ ควบคุมการปล่อยนักกีฬาที่จุดสตาร์ทได้ราว 5,000 คนต่อนาที ระบบงานของแชมเปี้ยนชิพ เอื้อประโยชน์มาก มายต่อคณะผู้จัดการแข่งขัน ผู้บันทึกเวลา รวมทั้งนักกีฬาเช่นกัน

 

ประโยชน์ในการใช้งานที่เอื้อต่อ:

คณะผู้จัดการแข่งขัน

  • การบันทึกเวลาการแข่งขันที่แม่นยำ ถูกต้องและรวดเร็ว
  • คุณภาพของรายงานผลการจับเวลาสำหรับนักกีฬาแต่ละคนตลอดการแข่งขัน และเวลา ณ จุดที่กำหนด ในแต่ละจุด
  • มีการจับเวลาในแต่ละจุดที่กำหนดเพื่อการรายงานข่าวของสื่อสิ่งพิมพ์ โทรทัศน์และอินเทอร์เน็ต
  • นักกีฬาวิ่งเข้าเส้นชัยได้โดยไม่ถูกบีบจากราวกั้นขอบทางเข้า (คณะผู้จัดการแข่งขันไม่เสียเวลาในการ สร้างและรื้อราวกั้นขอบทางเข้าเส้นชัย)
  • สามารถกำหนดจุดตรวจสอบได้ตลอดเส้นทางการแข่งขัน

ผู้บันทึกเวลา

  • คุณภาพของรายงานผลการจับเวลาสำหรับคณะผู้จัดการแข่งขันและ นักกีฬาทุกคน
  • มีระบบการจับเวลาที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและง่ายต่อการใช้งาน
  • จับเวลาและบันทึกข้อมูลได้มากกว่าระบบอื่นๆ
  • สามารถประมวลผลได้ทันทีและรายงานผลแบบออนไลน์ถึงผู้บรรยาย สื่อสิ่งพิมพ์ โทรทัศน์ และอินเทอร์เน็ตได้
  • ใช้งานได้เอนกประสงค์ กับกีฬาหลากหลายชนิดและติดตั้งได้หลากหลายรูปแบบ

นักกีฬา

  • การบันทึกเวลาการแข่งขันที่แม่นยำ ถูกต้องและรวดเร็วในการแข่งขันแต่ละรายการ
  • บันทึกเวลาตลอดการแข่งขัน ตั้งแต่จุดเริ่มต้น โดยแชมเปี้ยนชิพ สามารถบันทึกการลงทะเบียนของ นักกีฬาแต่ละคน ณ จุดเริ่มต้น ถึงแม้นักกีฬาจะแออัดกันอยู่ในกลุ่มก็ตาม
  • สามารถจับเวลาในแต่ละจุดที่กำหนด จุดที่มีการเปลี่ยนผ่านจากกีฬาหนึ่งไปสู่อีกกีฬาหนึ่ง และเวลาที่ นักกีฬาแต่ละคนใช้ในการแข่งขันกีฬาแต่ละชนิดสำหรับการแข่งขันไตรกีฬา
  • นักกีฬาวิ่งเข้าเส้นชัยได้โดยไม่ถูกบีบจากราวกั้นขอบทางเข้าเส้นชัย
  • แชมเปี้ยน ชิพ เป็นอุปกรณ์เฉพาะตัวที่สามารถใช้งานได้ทั่วโลกกับกีฬาหลายชนิด เช่น วิ่งแข่ง ไตรกีฬา แข่งจักรยาน จักรยานภูเขา แข่งสเก็ต แข่งสกี (หิมะ) วิบาก

ระบบของแชมเปี้ยนชิพ ใช้งานที่ไหนบ้าง
นับจากการเปิดตัวในการแข่งขัน เบอร์ลิน มาราธอน ในปี 2537 เป็นต้นมามีการใช้งานระบบ แชมเปี้ยนชิพ ในการแข่งขันหลายพันรายการทั่วโลกรวมทั้งการแข่งวิ่งมาราธอนระหว่างประเทศรายการสำคัญๆ ในประเทศเหล่านี้

* นิวยอร์ก * ลอนดอน * โตเกียว * บอสตัน * เบอร์ลิน * โกล์ด โคสต์ (แคลิฟอร์เนีย) * ชิคาโก * ปารีส
* เดอร์บัน * ลอส แองเจลิส * รอตเตอร์แดม * เคป ทาวน์ * ฮอนโนลูลู * มอสโคว์ * บัวโนส แอเรส

ตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมา ได้มีการนำ แชมเปี้ยนชิพ มาใช้จับเวลาการแข่งขัน ไอรอนแมน-มนุษย์เหล็ก ฮาวาย และการแข่ง ไอรอนแมน รายการอื่นทั่วโลก

การแข่งขัน Broloppet ฮาล์ฟ มาราธอน ข้ามสะพานใหม่ซึ่งเชื่อมระหว่างประเทศเดนมาร์กและสวีเดน ที่มีชื่อเสียง ในเดือนมิถุนายน 2543 ที่ผ่านมา ระบบแชมเปี้ยนชิพ ถูกนำมาใช้จับเวลาผู้เข้าแข่งขันจำนวน 79,837 คน

แชมเปี้ยนชิพ สุดยอดแห่งประดิษฐกรรมเพื่อผู้บันทึกเวลา สำหรับรายการแข่งขันต่างๆ และนักกีฬา

  สงวนลิขสิทธิ์ © 2554 บริษัท ชิพไทม์มิ่ง จำกัด